ดาวน์โหลดเอกสารอื่นๆ
กฏบัตรคณะกรรมการ
นโยบายบริษัท
นโยบายการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม |
แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและสารเคมี คลังราษฎร์บูรณะ |
นโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทฯ เชื่อว่า การที่บริษัทฯ มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเป็นปัจจัยสำคัญในการนำบริษัทฯ ไปสู่ความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายที่สำคัญสูงสุด รวมถึงเสริมสร้างให้บริษัทฯ มีระบบของการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเป็นพื้นฐานของการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และยั่งยืน และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในระยะยาว คณะกรรมการจึงได้มีนโยบายที่จะส่งเสริม และผลักดันให้เกิดระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับหน่วยงาน และบุคลากรของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักของการบริหารจัดการที่ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันกาล ระมัดระวัง และรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการบริษัทฯ จะดูแลและคุ้มครองให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน ดังนี้
โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ดําเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น ดังนี้
2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
ในการจัดการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มีนโยบายให้ผู้ถือหุ้นทุกรายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ดังนี้
3. บทบาทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะดูแล และรักษาสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตามที่กฎหมายกำหนดไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า ผู้สอบบัญชีอิสระ ผู้บริหาร พนักงาน ภาครัฐ สังคม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียนั้นมั่นใจได้ว่าสิทธิดังกล่าวจะได้รับการคุ้มครอง และปฏิบัติด้วยความเท่าเทียมกัน เช่น
4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
การเปิดเผยข้อมูล
จำนวนครั้งของการประชุม และจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละคนเข้าร่วมประชุมในปี 2552 มีดังนี้
รายงานของคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ในเรื่องงบการเงินของบริษัทฯ และเรื่องที่สำคัญต่างๆ ตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด แสดงไว้ควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปี โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้สอบทานคุณภาพของรายงานทางการเงิน และระบบการควบคุมภายใน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน โดยจะหารือ และประชุมร่วมกับฝ่ายจัดการ และผู้สอบบัญชีภายนอก เพื่อให้การรายงานทางการเงินของบริษัทฯ มีความถูกต้อง และครบถ้วน
ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส ทั้งในส่วนของการรายงานข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทั่วไป รวมถึงข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ ให้ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง ทันเวลา และตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดโดยบริษัทฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทาง และสื่อการเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ www.susco.co.th และเพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯมีความถูกต้อง ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และยังเป็นการป้องกันข่าวลือต่างๆ บริษัทฯ ได้มอบหมายกรรมการผู้จัดการ และ/หรือ กรรมการผู้ช่วย-กรรมการผู้จัดการ โดยผู้ลงทุนสามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2428-0029 หรือที่ e-mail address : marvee@susco.co.th
ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เปิดช่องทางให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถร้องเรียน แจ้งเบาะแสต่างๆ ต่อคณะกรรมการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน กระถูกละเมิดสิทธิ หรือเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะเป็นปัญหา ซึ่งมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยได้มอบให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับเรื่องและกลั่นกรองรายละเอียด ก่อนการนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบหรือพิจารณาต่อไป การติดต่อคณะกรรมการบริษัทสามารถกระทำผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ส่งหนังสือ, E-mail, เว็บไซต์, โทรศัพท์, หรือโทรสาร ดังนี้ :
คณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัท ซัสโก้ จำกัด(มหาชน)
139 ถนนราษฏร์บูรณะ แขวงบางปะกอก เขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
E-mail : corporatesecretary@susco.co.th
Website : www.susco.co.th
โทรศัพท์ : 0 2428 0029 ต่อ 110 หรือ 111 โทรสาร : 0 2428 8001
ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนเป็นเรื่องทุจริต คณะกรรมการตรวจสอบจะส่งเรื่องให้คณะกรทำงานการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อพิจารณาหาข้อเท็จจริง แล้วให้เสนอเรื่องกลับให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาโดยเร็วที่สุด
สำหรับกรณีอื่น ๆ คณะกรรมการตรวจสอบจะพิจารณาร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
หากเป็นการร้องเรียนจากพนักงาน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นหรือตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่า ในการร้องเรียนนั้น หากจะเปิดเผยตัวเองแล้ว อาจจะมีผลกระทบต่อตนก็อาจจะไม่เปิดเผยตัวเองได้ ไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นไร บริษัทฯ ก็จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้องเรียนจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเสมอ
5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำกับดูแลกิจการ และเป็นผู้กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนธุรกิจ งบประมาณ รายรับ-รายจ่าย เป็นประจำทุกปี เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ มีดังนี้ :
1. ภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ และความเป็นอิสระในการตัดสินใจ
คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย พิจารณา อนุมัติและทบทวนกลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ งบประมาณรายรับ-รายจ่าย และการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ตลอดจนควบคุมดูแลให้ผู้บริหารดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทยังได้ให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบ ทบทวน ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเน้นให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี มีมาตรการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการติดตามการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงจำเป็นที่จะต้องประกอบด้วยบุคคลผู้มีภาวะความเป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯและผู้ถือหุ้น
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีคณะกรรมการหลักทั้งหมด 7 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยได้มีการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคณะ และของผู้บริหารไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้รวมถึงอำนาจอนุมัติทางการเงินไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเพื่อให้เกิดการบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบได้เสมอ
2. โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท
1. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร
2. การรวมหรือแยกตำแหน่ง
3. คุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการอิสระ
3. คณะกรรมการบริหารได้กำหนดแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนในการดูแลควบคุมและป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ดังนี้ :
4. ในการดำเนินธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายสูงสุดอย่างยั่งยืน รวมถึงการมีระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วยเสมอ คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำคู่มือจริยธรรมธุรกิจไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัทฯ และบริษัทย่อยยึดถือเป็นแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม ทั้งการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
5. คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการควบคุมภายใน ทั้งในระดับบริหาร และระดับปฎิบัติการเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่บริษัทฯ ทั้งด้านการเงิน การดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฎิบัติงาน จึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับระบบการควบคุมและตรวจสอบภายในไว้ดังนี้
6. คณะกรรมการบริษัท จัดให้มีการประชุม โดยยึดหลักปฏิบัติดังนี้
7. คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายที่จะเสริมสร้างความรู้แก่กรรมการ ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลเรื่อง สำคัญที่มีการประกาศใช้ รวมทั้งการส่งเสริมให้กรรมการเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ หน้าที่ของกรรมการ
เติมพลังให้วันของคุณ
สำนักงานใหญ่และคลังน้ำมันราษฎร์บูรณะ